รถแบบไหน ? ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดให้ติด GPS ขนส่ง
กรมการขนส่งทางบกกำหนดให้ รถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุกขนส่ง ที่จดทะเบียนใหม่ ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2559 เป็นต้นไป บางประเภท ต้องติดตั้งระบบ GPS ขนส่ง เพื่อ เชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับศูนย์บริหารจัดการเดินรถของกรมการขนส่งทางบก โดยจัดเก็บข้อมูลรถทุก 1 นาที เป็นข้อมูลการใช้ความเร็ว, ชั่วโมงการขับขี่ และตำแหน่งพิกัดของรถ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือ ที่สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการขนส่งติดตามพฤติกรรมผู้ขับรถ เพื่อกำหนดมาตรการในการป้องกันและลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุก อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือบริหารการขนส่งทางบกให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
โดยรถกลุ่มดังกล่าว มีรายละเอียด ดังนี้
(1) กลุ่มรถโดยสารสาธารณะ ที่ต้องติดตั้ง GPS ขนส่ง
รถโดยสารสองชั้น รถบัส, รถบัส 2 ชั้น, รถตู้โดยสาร, รถ Taxi รถตู้ (ป้ายเหลือง)
การติดตั้ง GPS ขนส่ง คลอบคลุมทั้งรถ ประจำทาง ไม่ประจำทาง
สำหรับรถโดยสารสาธารณะที่ยกเว้นติด GPS ขนส่ง มีดังนี้
- รถสองแถว
- รถหมวด 4
- รถหมวด 1 ภูมิภาค
(2) กลุ่มรถบรรทุกขนส่ง ที่ต้องติดตั้ง GPS ขนส่ง
- รถลากจูง
- รถบรรทุกขนาดใหญ่ (10 ล้อขึ้นไป)
- รถขนวัตถุอันตราย
หลักการทำงานของ GPS ขนส่ง เป็นอย่างไร
- คนขับรถต้องรูดใบขับขี่ก่อนขับรถทุกครั้ง หากไม่รูดบัตรหรือใช้บัตรผิดประเภทจะมีเสียงร้องเตือนจนกว่าจะใช้บัตรที่ถูกประเภทรูด
- เครื่อง GPS ขนส่ง จะส่งข้อมูลคนขับรถและตำแหน่งพร้อมความเร็วไปยัง Server ของกรมการขนส่งทางบกโดยผ่านระบบเครือข่ายสัญญาณมือถือทุก 1 นาที
- ผู้ประกอบการสามารถดูตำแหน่งรถและรายงานต่าง ๆ ผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ ได้ตลอด 24 ชม. และดูย้อนหลังได้อย่างน้อย 6 เดือน
- ข้อมูลจะถูกส่งตรงไปยังกรมการขนส่งทางบกตลอด 24 ชม.